วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

รายชื่อสมาชิก


จัดทำโดย
1.นายแสงเพชร           วงษ์ดี               ม.6/6    เลขที่  13
2.นางสาวกุลจิรา         พลเสน            ม.6/6    เลขที่   21
3.นางสาวสุภาพร        ใจกำแหง         ม.6/6    เลขที่  31
4.นางสาวหนึ่งฤทัย     ยาสุกแสง        ม.6/6    เลขที่  33
5.นางสาวปวริศา         จันทร์ลอย        ม.6/6    เลขที่  38

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


บทที่ 5

 สรุปผลการศึกษา


     การศึกษาการนำสมุนไพรมาทำน้ำยาล้างจานมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพว่าสมุนไพรชนิดใดที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้น้ำยาล้างจานได้มากกว่ากัน
สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้

สรุปผลการศึกษา
            1.น้ำมะนาวมีคุณสมบัติที่สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับน้ำยาล้างจานได้ดีกว่ามะขามและมะกรูด

ปัญหา/อุปสรรค/ข้อเสนอแนะ
      การศึกษาการนำสมุนไพรมาทำน้ำยาล้างจานมีปัญหา อุปสรรค์และข้อเสนอแนะดังนี้
            1. เนื่องจากการหมักน้ำหมักจากสมุนไพรที่ใช้ในการทดลองต้องใช้เวลานาน กลุ่มของพวกเราจึงได้ไปขอน้ำหมักมาจากญาติที่ได้ทำน้ำหมักเหล่านี้ไว้
            2.เนื่องจากผลการทดลองที่ได้ออกมาไม่แน่ชัด ทำให้กลุ่มของพวกเราต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมว่าสมุนไพรชนิดใดกันแน่ที่สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับน้ำยาล้างจานได้มากกว่ากัน

บทที่ 4 
ผลการศึกษา


การศึกษาการนำสมุนไพรมาทำน้ำยาล้างจานมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพว่าสมุนไพรชนิดใดที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้น้ำยาล้างจานได้มากกว่ากันมีผลการศึกษา ดังนี้

     1.ผลการเปรียบเทียบคุณภาพของน้ำยาล้างจานที่ทำจากสมุนไพรที่แตกต่างกันเป็นดังนี้
ชนิดของสมุนไพรที่นำมาใช้ทำน้ำยาล้างจาน
การทดลองจับจานที่ล้างด้วยน้ำยาล้างจาน
มะนาว
สะอาด
มะกรูด
สะอาด
มะขาม
สะอาด
            จากตาราง  พบว่าน้ำยาล้างจานทั้ง 3 แบบ ทำความสะอาดจานที่ใช้ในการทดสอบได้ดีเท่ากัน แต่การการศึกษาต่อทำให้เราพบว่าในมะนาวนั้นมีสารที่ช่วยขจัดคราบมากกว่าสมุนไพรอีก 2 ชนิด สารที่ว่ามานั้นคือ กรดมะนาวหรือกรดซิตริก (citric acid)
บทที่ 3
วิธีการศึกษา

      การศึกษาการนำสมุนไพรมาทำน้ำยาล้างจานมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพว่าสมุนไพรชนิดใดที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับน้ำยาล้างจานได้มากกว่ากันคณะผู้รายงานกำหนดขั้นตอน/วิธีการศึกษาไว้ ดังนี้

วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้
            1.เกลือ
            2.กรดมะนาว
            3.ผงฟอง
            4.
N70
            5.
F-24(สารขจัดคราบมัน)
            6.หัวน้ำหอม
            7.สารกันเสีย
            8.ใบพาย
            9.ถังน้ำ
            10.สีผสมอาหาร
            11.น้ำเปล่า
            12.น้ำหมัก (มะนาว, มะขาม, มะกรูด)


วิธีการ/ขั้นตอนการศึกษา
1.ขั้นเตรียม
1.1 หมักน้ำหมักจากสมุนไพร
1.2 เตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้ครบ

2.ขั้นดำเนินการ
2.1 นำน้ำเปล่าผสมสีผสมอาหารเล็กน้อยกับ F-249 ตั้งทิ้งไว้
2.2 นำน้ำเปล่าผสมกับผงฟอง
2.3 กรองน้ำหมักออกจากสมุนไพร เอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำ
2.4 คนN70จนเป็นสีขาวข้น แล้วเติมน้ำเกลือลงไปแล้วตามด้วยน้ำที่ผสมพงฟอง ใส่สีผสมอาหารตามที่ต้องการ เสร็จแล้วใส่F-24คนไปเรื่อยๆ ตามด้วยน้ำหมักที่เตรียมไว้ ปิดท้ายด้วยน้ำเกลือที่เหลืออยู่ เสร็จแล้วตั้งทิ้งไว้ 4-6 ชั่วโมงเพื่อให้หมดฟอง

3.ขั้นสรุปและรายงานผล
                        3.1 นำน้ำยาล้างจานที่ได้ทั้ง 3 แบบ ไปทดลองล้างจาน แล้ววัดความสะอาด
                        3.2 บันทึกผลที่ได้จากการทดลอง  และเขียนตารางผลการทดลอง

บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาเปรียบเทียบการนำน้ำหมักมะนาว, มะขาม และมะกรูดมาทำน้ำยาล้างจานมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพว่าสมุนไพรชนิดใดที่สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้น้ำยาล้างจานได้ดีกว่ากัน ผู้ศึกษาได้ทำการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ดังมีหัวข้อต่อไปนี้
1 วิธีการทำน้ำยาล้างจาน
2 ความสำคัญของน้ำยาล้างจาน
3 สารต่างๆ ที่อยู่ในน้ำยาล้างจาน
4 ประโยชน์, โทษของน้ำยาล้างจาน และการดูแลรักษาเมื่อเกิดอาหารผิดปกติที่เกิดจากน้ำยาล้างจาน
1.วิธีการทำน้ำยาล้างจาน
             1.นำน้ำเปล่าผสมสีผสมอาหารเล็กน้อยกับ F-249 ตั้งทิ้งไว้
2.นำน้ำเปล่าผสมกับผงฟอง
3.กรองน้ำหมักออกจากสมุนไพร
4.คนN70จนเป็นสีขาวข้น แล้วเติมน้ำเกลือลงไปแล้วตามด้วยน้ำที่ผสมพงฟอง ใส่สีผสมอาหารตามที่ต้องการ เสร็จแล้วใส่F-24คนไปเรื่อยๆ ตามด้วยน้ำหมักที่เตรียมไว้ ปิดท้ายด้วยน้ำเกลือที่เหลืออยู่ เสร็จแล้วตั้งทิ้งไว้ 4-6 ชั่วโมงเพื่อให้หมดฟอง


2.ความสำคัญของน้ำยาล้างจาน
น้ำยาล้างจาน คือสารชำระล้าง (detergent) ที่ใช้ช่วยในการล้างจาน มีส่วนผสมของสารลดแรงตึงผิว (surfactant) ที่มีการระคายเคืองต่ำ ประโยชน์หลักของน้ำยาล้างจานคือใช้ล้างภาชนะและเครื่องครัวด้วยมือหลังจากประกอบหรือรับประทานอาหารแล้ว น้ำยาล้างจานทำให้สิ่งสกปรกและไขมันหลุดจากภาชนะและรวมตัวเป็นอีมัลชัน (emulsion) อยู่ในน้ำหรือฟอง (foam) เนื่องจากโมเลกุลของน้ำยาล้างจานประกอบด้วยส่วนที่มีขั้วและไม่มีขั้วเช่นเดียวกับผงซักฟอก ส่วนที่มีขั้วจะจับกับโมเลกุลของน้ำ และส่วนที่ไม่มีขั้วจะจับกับสิ่งสกปรกให้หลุดออก ในสมัยก่อนมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น สบู่ล้างจาน หรือ ครีมล้างจานเนื่องจากเคยผลิตในรูปของสบู่และครีมมาก่อน ปัจจุบันน้ำยาล้างจานมีส่วนผสมอื่นรวมอยู่ด้วย เช่น น้ำมะนาวหรือชา ซึ่งเชื่อว่าเป็นการช่วยให้ภาชนะสะอาดมากขึ้นและถนอมมือมากกว่าเดิม
3.สารต่างๆ ที่อยู่ในน้ำยาล้างจาน
น้ำยาล้างจาน Linear Alkylbenzene Sulfonates, Sodium Salt (LAS)  จัดเป็นสารลดแรงตึงผิวชนิดประจุลบ (anionic surfactant) LAS เป็นสารผสมของสารที่มีจำนวนคาร์บอนอยู่ระหว่าง 10-14  อะตอมบนสายอัลคิล (alkyl chain) ซึ่งต่อกับวงแหวนเบนซินที่ตำแหน่งพารา1 LAS   ในรูปของเกลือโซเดียมจัดเป็นสารสำคัญในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเสื้อผ้า  และ ผลิตภัณฑ์ล้างจาน  ในความเข้มข้นระหว่าง 5-25 %2 เนื่องจาก LAS สามารถทำให้สิ่งสกปรก หรือคราบไขมันหลุดจากผิวของผ้าหรือจานชามได้ 
สูตรโครงสร้างทางเคมี

                                       


  จำนวนคาร์บอนอะตอม (x+y) มีจำนวน  7-11 อะตอม
4 ประโยชน์, โทษของน้ำยาล้างจาน และการดูแลรักษาเมื่อเกิดอาหารผิดปกติที่เกิดจากน้ำยาล้างจาน
ประโยชน์
             ใช้ทำความสะอาดภาชนะหรือเครื่องใช้ในครัว  
อาการเมื่อเป็นพิษ
             ความเป็นพิษของสารนี้ต่อมนุษย์จัดว่าเป็นพิษน้อย โดยทั่วไปอาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง หรือตาได้เล็กน้อย ในการทดลองการก่อการระคายเคืองของสารนี้ต่อผิวหนังและตาในกระต่าย พบว่าสารนี้สามารถก่อให้เกิดการระคายเคืองที่ตาได้ในความเข้มข้น 5% ส่วนที่ผิวหนังต้องใช้ในความเข้มข้นที่สูงประมาณ 47-50%  ส่วนความเป็นพิษเมื่อรับประทานนั้น ต้องได้รับสารนี้ในความเข้มข้นมากกว่า 65%3   และจากการทดลองในหนูพบว่าปริมาณสารมากที่สุดที่ยังปลอดภัยเมื่อรับประทาน คือ 85 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน4 อาการเป็นพิษที่พบได้ในหนูจะพบความผิดปกติ ดังนี้ เดินโซเซ ขนตั้งชัน การหายใจลดลง ง่วงซึม หนังตาตก ท้องเสีย เป็นต้น

การวินิจฉัย

             กรณีรับประทานหากรับประทานในปริมาณไม่มากจะไม่พบอาการผิดปกติ แต่เมื่อได้รับในปริมาณมากอาจมีอาการเจ็บปากและลิ้น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย

             
กรณีเข้าตา ทำให้รู้สึกระคายเคือง ปวดแสบที่ตา

การปฐมพยาบาล

             กรณีรับประทาน ห้ามทำให้อาเจียน  ให้รีบดื่มน้ำหรือนมมาก ๆ  เพื่อลดการดูดซึม แล้วรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที

             
กรณีเข้าตา ให้รีบล้างตาด้วยน้ำมาก ๆ  จนอาการระคายเคืองตาหายไป  หากไม่ดีขึ้นควรนำผู้ป่วยพบแพทย์

ข้อควรระวัง (คำเตือน)

ห้ามรับประทาน

ระวังอย่าให้เข้าตา

การเก็บรักษา

             ควรเก็บในที่มิดชิดให้ห่างจากเด็กและอาหาร


บทที่
บทนำ


ที่มาและความสำคัญ
น้ำยาล้างจาน คือสารชำระล้าง (detergent) ที่ใช้ช่วยในการล้างจาน มีส่วนผสมของสารลดแรงตึงผิว (surfactant) ที่มีการระคายเคืองต่ำ ประโยชน์หลักของน้ำยาล้างจานคือใช้ล้างภาชนะและเครื่องครัวด้วยมือหลังจากประกอบหรือรับประทานอาหารแล้ว น้ำยาล้างจานทำให้สิ่งสกปรกและไขมันหลุดจากภาชนะและรวมตัวเป็นอีมัลชัน (emulsion) อยู่ในน้ำหรือฟอง (foam) เนื่องจากโมเลกุลของน้ำยาล้างจานประกอบด้วยส่วนที่มีขั้วและไม่มีขั้วเช่นเดียวกับผงซักฟอก ส่วนที่มีขั้วจะจับกับโมเลกุลของน้ำ และส่วนที่ไม่มีขั้วจะจับกับสิ่งสกปรกให้หลุดออก ในสมัยก่อนมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น สบู่ล้างจาน หรือ ครีมล้างจานเนื่องจากเคยผลิตในรูปของสบู่และครีมมาก่อน ปัจจุบันน้ำยาล้างจานมีส่วนผสมอื่นรวมอยู่ด้วย เช่น น้ำมะนาวหรือชา ซึ่งเชื่อว่าเป็นการช่วยให้ภาชนะสะอาดมากขึ้นและถนอมมือมากกว่าเดิม
(ที่มา
:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%99)
            ปัญหาที่พบได้บ่อยที่เกิดจากการล้างจานไม่สะอาด ทำให่มีเศษอาหารหลงเหลือติดอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของจานเมื่อเวลาผ่านไปเศษอาหารที่เหลือเหล่านั้นอาจเน่าเสียได้เป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่างๆ ได้ สาเหตุที่เกิดจากการเน่าเสียของอาหารได้แก่
แบคทีเรีย
จุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็ก มีรูปร่างต่างๆ กัน เช่น เกลียว กระบอกหรือท่อน กลมซึ่งอาจเกาะเรียงตัวกันเป็นสายหรือกลุ่ม แบคทีเรียมีการเจริญเพิ่มจำนวนโดยการแบ่งเซลล์ โดยเฉลี่ยที่สภาว้เหมาะสม จะเพิ่มจำนวนเป็น 2 เท่าทุก 20-30 นาที ดังนั้นหากในอาหารมีแบคทีเรียปนเปื้อนเพียง 1 เซลล์ ภายใน 10 ชั่วโมง จะมีจำนวนแบคทีเรียมากกว่า 1 ล้านเซลล์ อาหารที่มีแบคทีเรียปนเปื้อนอยู่ในระดับนี้ จะเกิดการเน่าเสียเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างแบคทีเรียที่ทำให้อาหารเน่าเสีย เช่น Pseudomonas Acinetobacter, Moraxella, Flavobacterium เป็นต้น แบคทีเรียที่ทำให้อาหารเกิดการเน่าเสียอาจแบ่งเป็นกลุ่มๆได้ โดยอาจพิจารณาจากความสามารถในการย่อยสลายประเภทอาหาร และผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้น
ยีสต์
จุลินทรีย์ที่มีขนาดใหญ่กว่าแบคทีเรีย เซลล์มีรูปร่างหลายลักณะ เช่น กลม รี เป็นต้น ส่วนใหญ่เพิ่มจำนวนโดยการแตกหน่อ ยีสต์เจริญได้ดีในอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำผลไม้ แยม ผลไม้แช่อิ่มหรือแห้ง รวมทั้งอาหารที่มีปริมาณเกลือมาก เช่น ผักดอง แฮม เบคอน และเนื้อเค็ม สปอร์ของยีสต์ไม่ทนความร้อนเหมือนกับสปอร์ของแบคทีเรีย นอกจากนี้ ยีสต์ยังมีเอนไซม์ที่ย่อยสลายกรดอินทรีย์ต่างๆที่ใช้ในการถนอมอาหาร เช่น กรดแล็กติก กรดแอซีติกได้ ทำให้กรดมีความเข้มข้นลดลง ทำให้อาหารมีสภาวะเหมาะสมต่อการเจริญของแบคทีเรียได้
อาหารที่เกิดการเน่าเสียจากยีสต์มักเกิดกลิ่นหมัก เมือก หรือฝ้าบริเวณผิวหน้า รวมทั้งเกิดความขุ่นและแก๊สได้ ตัวอย่างยีสต์ที่ทำให้อาหารเน่าเสีย เช่น Saccharomyces, Pichia, Torulopsis เป็นต้น
รา
จุลินทรีย์ที่พบอยู่ทั่วไป มีรูปร่างลักษณะ และสีต่างๆกัน ราเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผัก ผลไม้ และอาหารแห้ง ผลิตภัณฑ์ขนมอบ เกิดการเน่าเสีย มีสี กลิ่น ที่ผิดปกติ และราบางชนิดเช่น Aspergillus flavus ยังสามารถสร้างสารพิษอะฟลาทอกซินขึ้นในอาหารได้ โดยทั่วไปราเจริญได้ช้ากว่าแบคทีเรียและยีสต์ แต่เมื่อราเจริญได้สักระยะหนึ่ง ก็จะเจริญได้อย่างรวดเร็ว ราสามารถทนต่อสภาวะที่ไม่เหมาะสมได้ดี เช่น มีความชื้นน้อย ความเป็นกรด จึงเป็นปัญหาในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารมาก ตัวอย่างราที่ทำให้เกิดการเน่าเสียของอาหาร เช่น Aspergillus, Penicillium, Rhizopus เป็นต้น
แหล่งของจุลินทรีย์
จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่พบได้ทั่วไปตามธรรมชาติในสภาพแวดล้อมที่มีความเหมาะสมสำหรับการเจริญของจุลินทรีย์แต่ละชนิด แหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของจุลินทรีย์สามารถจัดแบ่งเป็น แหล่งที่อยู่ตามธรรมชาติทางกายภาพและทางชีวภาพ ซึ่งการทราบถึงแหล่งที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์จะช่วยทำให้ทราบถึงการแพร่กระจายหรือการปนเปื้อนข้ามของจุลินทรีย์สู่วัตถุดิบทางการเกษตรหรืออาหาร (ที่มา: http://ajarncharoen.wordpress.com/2012/02/02/food-degrad/)
วัตถุประสงค์
            การศึกษาการนำสมุนไพรมาทำน้ำยาล้างครั้งนี้ กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ดังนี้
1.เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพของผลไม้ชนิดต่างๆ ที่นำมาทำเป็นน้ำยาล้างจาน
ขอบเขตของการศึกษา
ด้านระยะเวลา
        1 กันยายน 30 ตุลาคม 2555 รวมระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา ค้นคว้า และทดลองทั้งหมด 30 วัน
ด้านเนื้อหา
         ในการศึกษาทดลองโครงงานนี้มุ่งศึกษาการทำน้ำยาจากสมุนไพรที่ใช้ส่วนผสมที่มีความแตกต่างกัน เพื่อเปรียบเทียบและศึกษาค้นคว้าต่อไป
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
            1.  สามารถสร้างน้ำยาล้างจานจากสมุนไพรที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับน้ำยาล้างจานได้มากขึ้น
            2.  สามารถรู้ได้ว่าการใช้สมุนไพรชนิดไหนทำให้ล้างจานได้สะอาดขึ้น